วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ชวนชมไทย Thaiadeniums.


ภาพโดย:สวนสมภพ อ่างทอง
ชวนชม ชื่อนี้คุ้นหูคนไทยมานานมากแล้ว ไม้รูปทรงอวบน้ำโคนป่อง ที่เห็นกันตามข้างถนนหนทาง หน้าปั้มน้ำมัน  สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนไปจนถึงรีสอรส ขนาดใหญ่  หากลองสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเจ้าไม้รูปทรงอวบน้ำพวกนี้ มีอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด จนแถบจะกล่าวได้ว่า เมื่อมีการจัดสวนที่ใดหนึ่งในนั้นต้องมี พันธุ์ไม้ที่ชื่อชวนชมรวมอยู่ด้วยเสมอ คงเป็นเพาะลักษณะโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ รูปทรงต้นที่สวยงาม สีดอกที่สดใส ปลูกเลี้ยงง่ายและทนต่อสภาพแห้งแล้ง อากาศร้อนเช่นบ้านเรานี้กระมัง ที่ดึงดูดผู้ปลูกเลี้ยง และครองแชมป์ไม้สะสมยอดนิยมมายาวนาน จนได้รับฉายาว่า Desert Rose หรือกุหลาบทะเลทราย แม้แต่ชาวจีน ก็ยังเรียกขานพวกมัน ในชื่อที่เป็น สิริมงคลว่า ปู้กุ้ยฮวยซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวยหากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว เจ้าต้นไม้พวกนี้มีหลายอย่างที่น่าสนใจและน่าค้นหายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสายพันธุ์  ลักษณะลำต้นที่แปลกตา เรื่องราวการเดินทางของกิ่งพันธุ์ รวมถึงการเพาะเลี้ยงที่ยาวนานของกลุ่มนักสะสม ทำให้ชวนชมแทบจะกลายเป็นตำนานของต้นไม้อีกบทหนึ่งก็ว่าได้ 
Adenium Obesum หรือ ฮอลแลนด์ ไม้สีโขดสวยที่มีความหลากหลายในสีของดอก สะสมอาหารทางรากทำจนกลายเป็นโขดใหญ่อ้วน นิยมนำมาเป็นต้นตอในการเสียบยอดสีต่างๆ ให้ความหลากหลายของสีดอกที่สวยงาม



Somalense หรือ ยักษ์ญี่ปุ่น ชวนชมทรงสูงที่มักเห็นกันในสถานที่จัดสวนทั่วไป มีลักษณะของลำต้นที่สูงชะลูดเป็นไม้โตเร็ว พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า เป็นไม้ยืนต้นจัดว่าเป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่งที่มีลำต้นตรงใหญ่ชะลูดทางสูงมากกว่าการแตกกิ่งทางด้านข้าง 

Thai Socotranum
 ไทยโซโคทรานั่ม เป็นชวนชมอีกชนิดหนึ่งที่มีรูปลักษณ์สวยงาม ลักษณะทรงต้นที่แปลกตา กิ่งก้านใบและลำต้นคล้ายบอนไซ เป็นไม้สะสมขนาดกลางที่ได้รับความนิยมของนักสะสมต้นไม้ทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างมากจนในปัจจุบันความต้องการในตลาดยังสูงพอสมควร ลักษณะของสายพันไทยโซโคทรานั่มนี้จะให้เมล็ดค่อนข้างยาก เมล็ดที่สมบูรณ์จะมีขนาดใหญ่มาก หรือจะเรียกว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาชวนชมเลยก็ว่าได้ ไทยโซโคทรานั่มที่พบในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาเมื่อหลายสิบปีก่อน สายพันธุ์ดั้งเดิมและโดดเด่นสวยงามได้ตั้งชื่อตามสถานที่ปลูกเลี้ยงได้แก่ เพชรบ้านนา บางคล้า เขาหินซ้อน ต่อมาเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลานานเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ให้ลูกไม้ที่ออกมามีลักษะโดดเด่นและสวยงามแตกต่างกันออกไป 
Adenium Arabicum
 หรือ ยักษ์ซาอุดิอาระเบีย คนไทยมักรู้จักกันในชื่อนี้ซะส่วนใหญ่ คงเป็นเพาะเรียกตามที่มาจากสายพันธุ์ คือจากประเทศ ซาอุดิอาระเบีย และมีขนาดลำต้นที่ใหญ่โต จึงเรียกนำหน้าว่ายักษ์ นำเข้ามาโดยคนไทยที่ไปทำงานยังต่างประเทศเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่สำหรับในกลุ่มนักสะสมจะมีการจำแนกสายพันธุ์จากยักษ์ซาอุฯออกมาตามลักษณะของดอกใบและลำต้นที่มีความแตกต่างอีก บางส่วนตั้งชื่อตามสถานที่ปลูกเลี้ยง บางส่วนตั้งชื่อโดยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้เพาะเลี้ยง  ในเว็ปไซด์ขอยกมาแค่ 7 ชื่อหรือ 7 ลักษณะ ที่แตกต่างกันในกลุ่มของ ยักษ์ซาอุฯ เนื่องจากมีเป็นที่รู้จักในประเทศไทยพอสมควร 
ภาพโดย:บ้านสวนชวนชม เตยแดง
ราชินีพันดอก A1
*ลักษณะใบ จะสังเกตได้ง่ายกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ใบจะมนเป็นมัน (ถ้าเลือดเด่นของใบจะออกแดงเล็กน้อย)
*ลักษณะดอก ดอกจะดก เพาะเมล็ดขึ้นกระถางดำขนาด 4 นิ้ว ก็ออกดอกแล้ว ลักษณะดอกจะมีสีชมพูขาวนิดหน่อย เป็นไม้ที่ออกดอกพร้อมกัน ดอกดก (เป็นที่มาของชื่อ ราชินีพันดอก)
*ลักษณะกิ่งลำต้นและสีผิว ลักษณะกิ่งตอน กิ่งชำจากต้นแม่ ผิวจะสวยออกลายนวล ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่นที่เลี้ยงว่า ใช้น้ำ (รดน้ำ) อะไร หรือปุ๋ยที่ใช้มีลักษณะอย่างไร ลูกไม้เพาะเมล็ดแรกเริ่มก็จะเขียวพออยู่นานก็จะนวลเอง
*ลักษณะฝัก ฝักจะเล็กกว่าไม้ทุกต้น ในกรณีที่อยู่กับกิ่งต้นแม่ถ้าเสียบตอไทยจะให้ฝักสมบูรณ์กว่า หนึ่งฝักจะให้เมล็ดประมาณ 80-100 เมล็ด
*ลักษณะเด่น ถ้าออกดอกแล้วยอดจะแตกออกเป็น 3 กิ่ง ถ้านำกิ้งจากต้นแม่เข้าเสียบตอไทยติดใหม่ใบจะด่างและจะหายไปเอง ให้ฝักเร็ว ดอกดก
*ลักษณะด้อย เพาะเมล็ดยาก เมล็ดมีขนาดเล็ก (ถ้าจะให้ได้ผลเมื่อเก็บเมล็ดมาผึ่งให้แห้งแล้วเพาะได้เลย จะงอกดีกว่าเก็บนาน) 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น