วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ชวนชม ราชินีพันดอก ADENIUM RCN

ภาพโดย:บ้านสวนชวนชม เตยแดง

ราชินีพันดอก 

หากเอ่ยชื่อนี้ทุกคนทั้งในและนอกวงการชวนชม คงอดไม่ได้ที่จะจินตนาการตามชื่อ ว่าชวนชมต้นนี้คงจะดอกดกจริงๆ จึงได้ชื่อว่าราชินีพันดอก คือมีดอกเป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ชวนชมต้นนี้ไม่ว่าจะทั้งในและต่างประเทศก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนชาวต่างชาติรู้จักกันในชื่อย่อว่า RCN. ก็คือย่อมาจาก  RA CHI NEE  นั่นเองครับ
            ราชินีพันดอกจัดอยู่ในกลุ่มชวนชมตระกูลยักษ์ ภาษาบ้านๆ เรียกยักษ์ซาอุ พวกฝรั่งเรียก ARABICUM คือเรียกตาม สายพันทางวิทยาศาตร์ ส่วนตัวผมนั้นขออณุญาติไม่เน้นภาษาทางวิชาการนะครับ เพาะว่ามีบทความที่มีความรู้แบบวิชาการอยู่แล้วใน BLOG นี้ ส่วนตรงนี้จะขอใช้ภาษาพูดปนภาษาเขียน เหตุผลก็เพื่อต้องการให้คุณผู้อ่านเข้าใจและรู้เรื่อง
ตามแบบภาษาเราชาวชวนชมเมืองไทยนั่นเอง
            ราชินีพันดอกในบ้านเรา นิยมเล่นกัน 2  อย่างด้วยกัน
1.ราชินีพันดอกเพาะเมล็ด
2.ราชินีพันดอกกิ่งตอน
          ราชินีพันดอก หากเอ่ยชื่อนี้ทุกคนทั้งในและนอกวงการชวนชม คงอดไม่ได้ที่จะจินตนาการตามชื่อ ว่าชวนชมต้นนี้คงจะดอกดกจริงๆ จึงได้ชื่อว่าราชินีพันดอก คือมีดอกเป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ชวนชมต้นนี้ไม่ว่าจะทั้งในและต่างประเทศก็รู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนชาวต่างชาติรู้จักกันในชื่อย่อว่า RCN. ก็คือย่อมาจาก  RA CHI NEE  นั่นเองครับ
            ราชินีพันดอกจัดอยู่ในกลุ่มชวนชมตระกูลยักษ์ ภาษาบ้านๆ เรียกยักษ์ซาอุ พวกฝรั่งเรียก ARABICUM คือเรียกตาม สายพันทางวิทยาศาตร์ ส่วนตัวผมนั้นขออณุญาติไม่เน้นภาษาทางวิชาการนะครับ เพาะว่ามีบทความที่มีความรู้แบบวิชาการอยู่แล้วใน BLOG นี้ ส่วนตรงนี้จะขอใช้ภาษาพูดปนภาษาเขียน เหตุผลก็เพื่อต้องการให้คุณผู้อ่านเข้าใจและรู้เรื่อง
ตามแบบภาษาเราชาวชวนชมเมืองไทยนั่นเอง
            ราชินีพันดอกในบ้านเรา นิยมเล่นกัน 2  อย่างด้วยกัน
1.ราชินีพันดอกเพาะเมล็ด
2.ราชินีพันดอกกิ่งตอน
              แล้วมันเป็นอย่างไร ทำไมต้องเพาะเมล็ด ทำไมต้องกิ่งตอน  พออ่านมาถึงตรงนี้เริ่มสงสัย เอาอันแรกก่อน ข้อดีของการเพาะด้วยเมล็ด คือชวนชมทุกสายพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีหัวที่อ้วนใหญ่เหมือนหัวอะไรสักอย่างที่ดูแล้วอวบๆ ป่องๆ อ้วนๆ ให้ความรู้สึก แข็งแรง เพิ่มพูน มั่นคงไม่สั่นคลอนและปลอดภัย สรุปก็คือการเพาะเมล็ดคุณจะได้ ชวนชมที่มีหัวอ้วนป่อง ส่วนการตอนกิ่งคุณจะได้ ทรงต้นที่คล้ายต้นไม้ยืนต้น ทรงสูงมีมิติ เหมือนต้นไม้ใหญ่หรือคล้ายๆ ต้นบอนไซ ส่วนกิ่งและดอกยังคงดกเหมือน แต่สิ่งที่คุณจะได้จากกิ่งตอนก็คือ เนื้อแท้ของกิ่งไม้ที่ถูกตัดจากต้นแม่ที่ต่างประเทศ และส่งเข้ามาในเมืองไทย น่าสนใจมั้ยครับ เรื่องนี้ผมฟังมาจากคนแก่ๆแล้วโคราช เล่าว่ามีลูกชายชาวบ้านไปทำงานซาอุ งานที่ทำคือต้องออกพื้นที่ลงภาคสนาม เดินท่อนน้ำมัน โยธา ประมาณนั้น แล้วเจอเจ้าต้นเราชินีพันดอกเข้า (แต่ตอนนั้นมันยังไม่มีชื่อ)  ธรรมชาติของคนไทย ส่วนใหญ่รักต้นไม้ บวกกับความอยากได้ด้วย ก็เลยตัดกิ่งชวนชมมาหนึ่งกิ่ง แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าตัวเองยังไม่กลับเมืองไทยแล้วจะส่งมายังไง ถ้าจะเดินเข้าไปที่ไปรษณีส่งมาก็คงติดคุกที่ซาอุหัวโตแน่นอนเพาะเรื่องพันธุ์ไม้ระหว่างประเทศ เป็นสิ่งต้องห้ามอยู่แล้ว แต่เรื่องแบบนี้คนไทยสามารถอยู่แล้ว ก็เลยซื้อทีวีที่ซาอุ แล้วส่งทีวีกลับมาบ้าน แล้วเขียนจดหมายถึงแม่ให้ขันน็อตเปิดกล่องทีวีออก ข้างในมีกิ่งชวนชมอยู่ 1 กิ่ง ในจดหมายบอกว่าให้นำไปปลูกไว้มันเป็นไม้จากเมืองนอกสำคัญมาก แม่จึงนำไปปลูกไว้ข้างๆ บ้าน เวลาผ่านไปชวนชมจากซาอุก็เติมโตขึ้นเป็นไม้ไหญ่ขนาดเท่าต้นมะละกอรุ่นๆ ถึงขนาดนี้แล้วลูกชายก็ยังไม่กลับบ้านได้แต่ส่งเงินกลับบ้านทุกๆ เดือน แล้ววันนั้นก็มาถึงครอบครัวทางเมืองไทยมีเงินเพิ่มขึ้นถึงเวลาขยับขยายบ้าน คือต้องการปลูกบ้านใหม่ เดือดร้อนถึงเจ้าชวนชมข้างบ้าน โดยไม่ต้องปรึกษา คนทางบ้านใช้รถไถปรับพื้นที่พร้อมดันชวนชมต้นดังกล่าวออกด้วย ด้วยความเสียดายทางบ้านจึงตัดกิ่งไว้ 3 กิ่ง ใส่กระถางปลูกเอาไว้ ได้ขายไปหมดทั้ง 3 กิ่ง สองกิ่งเน่าตายไปในเวลาต่อมา ส่วนกิ่งสุดท้ายถูกขายมาแถวๆ โคราชและนั้นคือจุดเริ่มต้นของชวนชมที่ชื่อราชินีพันดอก....เอาไว้ต่อโอกาสหน้าครับว่างจะเข้ามาต่อ.



วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ชวนชมไทย Thaiadeniums.


ภาพโดย:สวนสมภพ อ่างทอง
ชวนชม ชื่อนี้คุ้นหูคนไทยมานานมากแล้ว ไม้รูปทรงอวบน้ำโคนป่อง ที่เห็นกันตามข้างถนนหนทาง หน้าปั้มน้ำมัน  สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนไปจนถึงรีสอรส ขนาดใหญ่  หากลองสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเจ้าไม้รูปทรงอวบน้ำพวกนี้ มีอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด จนแถบจะกล่าวได้ว่า เมื่อมีการจัดสวนที่ใดหนึ่งในนั้นต้องมี พันธุ์ไม้ที่ชื่อชวนชมรวมอยู่ด้วยเสมอ คงเป็นเพาะลักษณะโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ รูปทรงต้นที่สวยงาม สีดอกที่สดใส ปลูกเลี้ยงง่ายและทนต่อสภาพแห้งแล้ง อากาศร้อนเช่นบ้านเรานี้กระมัง ที่ดึงดูดผู้ปลูกเลี้ยง และครองแชมป์ไม้สะสมยอดนิยมมายาวนาน จนได้รับฉายาว่า Desert Rose หรือกุหลาบทะเลทราย แม้แต่ชาวจีน ก็ยังเรียกขานพวกมัน ในชื่อที่เป็น สิริมงคลว่า ปู้กุ้ยฮวยซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวยหากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว เจ้าต้นไม้พวกนี้มีหลายอย่างที่น่าสนใจและน่าค้นหายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสายพันธุ์  ลักษณะลำต้นที่แปลกตา เรื่องราวการเดินทางของกิ่งพันธุ์ รวมถึงการเพาะเลี้ยงที่ยาวนานของกลุ่มนักสะสม ทำให้ชวนชมแทบจะกลายเป็นตำนานของต้นไม้อีกบทหนึ่งก็ว่าได้ 
Adenium Obesum หรือ ฮอลแลนด์ ไม้สีโขดสวยที่มีความหลากหลายในสีของดอก สะสมอาหารทางรากทำจนกลายเป็นโขดใหญ่อ้วน นิยมนำมาเป็นต้นตอในการเสียบยอดสีต่างๆ ให้ความหลากหลายของสีดอกที่สวยงาม



Somalense หรือ ยักษ์ญี่ปุ่น ชวนชมทรงสูงที่มักเห็นกันในสถานที่จัดสวนทั่วไป มีลักษณะของลำต้นที่สูงชะลูดเป็นไม้โตเร็ว พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า เป็นไม้ยืนต้นจัดว่าเป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่งที่มีลำต้นตรงใหญ่ชะลูดทางสูงมากกว่าการแตกกิ่งทางด้านข้าง 

Thai Socotranum
 ไทยโซโคทรานั่ม เป็นชวนชมอีกชนิดหนึ่งที่มีรูปลักษณ์สวยงาม ลักษณะทรงต้นที่แปลกตา กิ่งก้านใบและลำต้นคล้ายบอนไซ เป็นไม้สะสมขนาดกลางที่ได้รับความนิยมของนักสะสมต้นไม้ทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างมากจนในปัจจุบันความต้องการในตลาดยังสูงพอสมควร ลักษณะของสายพันไทยโซโคทรานั่มนี้จะให้เมล็ดค่อนข้างยาก เมล็ดที่สมบูรณ์จะมีขนาดใหญ่มาก หรือจะเรียกว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาชวนชมเลยก็ว่าได้ ไทยโซโคทรานั่มที่พบในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาเมื่อหลายสิบปีก่อน สายพันธุ์ดั้งเดิมและโดดเด่นสวยงามได้ตั้งชื่อตามสถานที่ปลูกเลี้ยงได้แก่ เพชรบ้านนา บางคล้า เขาหินซ้อน ต่อมาเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลานานเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ให้ลูกไม้ที่ออกมามีลักษะโดดเด่นและสวยงามแตกต่างกันออกไป 
Adenium Arabicum
 หรือ ยักษ์ซาอุดิอาระเบีย คนไทยมักรู้จักกันในชื่อนี้ซะส่วนใหญ่ คงเป็นเพาะเรียกตามที่มาจากสายพันธุ์ คือจากประเทศ ซาอุดิอาระเบีย และมีขนาดลำต้นที่ใหญ่โต จึงเรียกนำหน้าว่ายักษ์ นำเข้ามาโดยคนไทยที่ไปทำงานยังต่างประเทศเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่สำหรับในกลุ่มนักสะสมจะมีการจำแนกสายพันธุ์จากยักษ์ซาอุฯออกมาตามลักษณะของดอกใบและลำต้นที่มีความแตกต่างอีก บางส่วนตั้งชื่อตามสถานที่ปลูกเลี้ยง บางส่วนตั้งชื่อโดยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้เพาะเลี้ยง  ในเว็ปไซด์ขอยกมาแค่ 7 ชื่อหรือ 7 ลักษณะ ที่แตกต่างกันในกลุ่มของ ยักษ์ซาอุฯ เนื่องจากมีเป็นที่รู้จักในประเทศไทยพอสมควร 
ภาพโดย:บ้านสวนชวนชม เตยแดง
ราชินีพันดอก A1
*ลักษณะใบ จะสังเกตได้ง่ายกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ใบจะมนเป็นมัน (ถ้าเลือดเด่นของใบจะออกแดงเล็กน้อย)
*ลักษณะดอก ดอกจะดก เพาะเมล็ดขึ้นกระถางดำขนาด 4 นิ้ว ก็ออกดอกแล้ว ลักษณะดอกจะมีสีชมพูขาวนิดหน่อย เป็นไม้ที่ออกดอกพร้อมกัน ดอกดก (เป็นที่มาของชื่อ ราชินีพันดอก)
*ลักษณะกิ่งลำต้นและสีผิว ลักษณะกิ่งตอน กิ่งชำจากต้นแม่ ผิวจะสวยออกลายนวล ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่นที่เลี้ยงว่า ใช้น้ำ (รดน้ำ) อะไร หรือปุ๋ยที่ใช้มีลักษณะอย่างไร ลูกไม้เพาะเมล็ดแรกเริ่มก็จะเขียวพออยู่นานก็จะนวลเอง
*ลักษณะฝัก ฝักจะเล็กกว่าไม้ทุกต้น ในกรณีที่อยู่กับกิ่งต้นแม่ถ้าเสียบตอไทยจะให้ฝักสมบูรณ์กว่า หนึ่งฝักจะให้เมล็ดประมาณ 80-100 เมล็ด
*ลักษณะเด่น ถ้าออกดอกแล้วยอดจะแตกออกเป็น 3 กิ่ง ถ้านำกิ้งจากต้นแม่เข้าเสียบตอไทยติดใหม่ใบจะด่างและจะหายไปเอง ให้ฝักเร็ว ดอกดก
*ลักษณะด้อย เพาะเมล็ดยาก เมล็ดมีขนาดเล็ก (ถ้าจะให้ได้ผลเมื่อเก็บเมล็ดมาผึ่งให้แห้งแล้วเพาะได้เลย จะงอกดีกว่าเก็บนาน) 




วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ตลาดชวนชม จตุจักร

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน 

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเองก่อน ผมชื่อสุเมธ โพธิ์ศรีทอง เป็นพ่อค้าขายต้นไม้มีแผงอยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร (JATUJAK MARKET) โครงการ 17. ปากซอย9. เปิดขายประจำในวันพุธ - พฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา ประมาณ 6 โมงเช้าจนเกือบถึง 6 โมง เย็น.    

แม่ไม้ในสวน อายุ 9 ปี น้ำหนัก 75.5 กิโลกรัม

ต้นไม้ที่ผมขายมีลักษณะ ลำต้น ราก กิ่ง หัวอวบอ้วนอมน้ำ ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ..ชวนชม อันดับแรกนี้จะนำคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับชวนชม ที่มีอยู่ในเมืองไทยให้พอเข้าใจ ว่ามีที่มาที่ไปจากไหนอย่างไรบ้าง เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันก่อนจะได้คุยกันรู้เรื่อง ชวนชมยุคแรกในเมืองไทยนัันมันเป็นอย่างไร มีกี่ประสายพันธุ์กันแน่ ทำไมเยอะแยะมากมาย ไม่รู้จะเล่นอะไรดี เป็นปัญหาหนักอกพอสมควร โดยเฉพาะผู้เริ่มต้น... 

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ถิ่นกำเหนิดและที่มา

ชวนชมในเกาะโซโคต้า ประเทศเยเมน
คนไทยรู้จักชวนชมมามากกว่า 70 ปี ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดนำเข้ามา มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไม้นำเข้าจากอินโดนีเซียหรือชวา เพราะแต่เดิมเคยเรียกว่า "ลั่นทมยะวา" ชื่อลั่นทม อาจจะเรียกตามความเข้าใจของคนในสมัยนั้น ที่คิดว่าชวนชมอยู่สกุลของลั่นทมเพราะมีดอกคล้ายกัน ส่วนคำว่ายะวาเพี้ยนจากชื่อเมืองชวา ตามความเป็นจริงแล้วชวนชมก็ไม่ใช่พื้นเมืองของชวา แต่อาจจะนำเข้ามาจากฮอลแลนด์ เพราะครั้งนั้นชวาถูกปกครองโดยชาวดัชอยู่ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นกลุ่มของนักสะสมรวบรวมพันธุ์ไม้ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะถิ่นเดิมชวนชมอยู่ในอาฟริกา และต่อมาพระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อโดยตามความเหมาะสม มีความรู้สึกที่ดีเป็น "ชวนชม" ต้องตามลักษณะของต้นไม้ในสมัยเดียวกันนั้นเองปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ได้จัดให้ชวนชมอยู่ในสกุล adenium Roem & Schult (Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Kudu Lily, Sabi Star) ในวงศ์ Apocynaceae โดยพืชในวงศ์นี้มีลักษณะเด่นที่มักจะมียางขุ่นขาวและมักจะมีพิษ เกสรเพศผู้และเมียถูกปกปิดอยู่ลึกมองเห็นไม่ชัดเจนเช่นดอกไม้อื่น ๆ ไม้ในวงศ์นี้ที่เห็นรู้จักกันทั่วไปมีทั้งเป็นไม้พื้นเมืองและนำเข้าได้แก่ ยี่โถ ลั่นทม บานบุรี รำเพย พุด พังพวย โมก หิรัญญิการ์ หนามแดง ตีนเป็ดทะเล สัตบรรณ ยางน่อง ฯลฯ ชวนชมเป็นพืชอายุหลายปี ทนแล้ง มีลักษณะเด่นที่เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ เก็บกักตุนอาหารไว้ที่ลำต้น โขด (cordex, ส่วนต่อของลำต้นกับรากที่ขยายใหญ่ขึ้น)  และราก ดอกมีห้ากลีบ สีชมพูอมแดง ส่วนกลางดอกจะเห็นระยางค์ 5 เส้นยื่นยาวชัดเจนเป็นส่วนปลายของอับเรณูอยู่ภายในกรวยดอกไว้ล่อแมลง ที่ส่วนฐานกลีบดอกเชื่อมติดรวมเป็นกรวย ฐานกรวยเป็นที่ตั้งของรังไข่ 1 คู่ ถ้าได้รับการผสมเกสรสมบูรณ์จะเจริญเป็นฝักยาวคล้ายเขากวางอิมพาลา ภายในฝักมีเมล็ดเรียงเป็นแถวจำนวนเป็นสิบจนถึงร่วมร้อย เมล็ดทรงกระบอกเรียวยาวขนาดรูปร่าง สี ใกล้เคียงเมล็ดข้าวเปลือกที่มีตอนปลายตัดทั้งสองด้านพร้อมมีพู่กระจุกขนประดับช่วยพยุงเมล็ดให้ปลิวไปตามลมได้ไกล ๆ
แหล่งกำเนิดดั้งเดิมในธรรมชาติของพืชในสกุลชวนชมมีสองแหล่งใหญ่คือ แหล่งที่หนึ่ง พบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกาได้แก่ชนิด
 1. Adenium obesum Balf. f. (Desert Rose, Mock Azalea, Impala Lily ได้แก่พันธุ์พื้นเมือง) พบตอนใต้ซาอีล แทนซาเนีย ซิมบักเวย์ และตามแนวฝั่งทะเลของเคนย่า เป็นชนิดดั้งเดิมที่นำเข้ามาครั้งแรกดังกล่าวข้างต้น จึงพบกันทั่วไปในประเทศไทย จนบางครั้งถูกเรียกเป็นพันธุ์ไทยหรือพันธุ์พื้นเมืองไป ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ ลำต้นส่วนใหญ่จะแตกกิ่งแขนงมาก รูปทรงคล้ายไม้ยืนต้นพวกจามจุรี โคนต้นติดกับโขดมักไม่ขยายพองกว้างใหญ่มากนัก จะเก็บสะสมอาหารและน้ำไว้ที่ส่วนรากที่มีขนาดใหญ่มาก ใบเรียบมัน ไม่มีขน สีเขียวอ่อนสดใส เส้นใบหลักและแขนงมีสีอ่อน เห็นชัดเจน ดอกสีชมพู ขอบกลีบสีเข้ม ภายในกรวยมีเส้นนำทางเข้าสู่ต่อมน้ำหวาน (nectar guide) ใต้ฐานกลีบดอก กลีบละ 1 เส้น ภายในกรวยดอกสีเหลือจะเห็นระยางค์ของอับเรณู 5 เส้นอยู่ภายในกรวยที่ไม่มีขนมากนัก ออกดอกดกเกือบทั้งปี ต่อมาไม้ชนิดนี้ได้มีการปรับปรุงและคัดสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ ไม้ที่เพาะจากเมล็ดเกิดความหลากหลาย เกิดส่วนโขดขยายพองโตมาก รากใหญ่ ดอก มักจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดและสีแตกต่างกันมาก จากขาวจนถึงแดงเข้ม เกิดดอกลายมีเหลื่อมสีมากขึ้น จำนวนดอกในช่อมีมากขึ้น บางสายพันธุ์ดอกจะบานนานขึ้นกลายเป็นไม้ติดตลาดยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยแรกเริ่มมากกว่าสิบปี มีผู้นำชวนชมกลุ่มที่มีโขดใหญ่เข้ามาจากแหล่งเพาะขยายพันธุ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่หลังจากนั้นมีการนำเข้ามาจากฮอลแลนด์ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น จนเป็นที่รู้จักและเรียกกันทั่วไปว่าเป็นกลุ่มลูกผสมสายพันธุ์ "ฮอลแลนด์" และก็ยังมีการนำเข้าของสายพันธุ์เด่น ๆ จากไต้หวัน และสหรัฐอเมริกาเข้ามาเพิ่มเติม เนื่องจากสายพันธุ์ลูกผสมชนิดนี้ในประเทศไทย สีสรรมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น จากขาวจนถึงแดงเข้มจัดในบางสายพันธุ์ เป็นที่นิยมมากมายหลายร้อยชื่อ นับเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหาสายพันธุ์ และจำนวนต้นมากมายจนมีชื่อเสียงมากในโลกปัจจุบัน สำหรับต้นพื้นเมืองเดิมหรือลูกของฮอลแลนด์ที่มีดอกไม่สวย เมื่อมีลำต้น โขดและรากขนาดใหญ่ จะนำมาตัดแต่งรูปทรงให้สวยงามนำมาใช้เป็นต้นตอเพื่อต่อกิ่งสายพันธุ์ที่ดีลงก็จะให้ดอกสวยงามต่อไป
2) A. multiflorum Klotzsch ได้แก่ แดงเอหรือแดงอาฟฯ พบที่โมแซมบิคบางครั้งจึงพบว่าจัดชนิดนี้เป็นชนิดย่อยของ obesum เพราะโครงสร้างลำต้นทั่วไปคล้ายชวนชมพื้นเมือง เจริญเติบโตเร็วแข็งแรง ลักษณะเด่นที่แยกได้ชัดคือภายในกรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวานอยู่ 15 เส้น (3เส้น/กลีบดอก) สีพื้นดอกเป็นขาวขอบแดงเข้ม ขอบกลีบบิดเล็กน้อย ระยางค์ของอับเรณูยาวเลยส่วนกรวยดอก ใบแตกต่างมากเป็นสีเขียวอมเทาเป็นมัน ส่วนปลายใบมนขยายกว้างและมักเว้าลึกที่กึ่งกลาง มักทิ้งใบหมดหลังหนาวจัดแล้วจึงให้ดอกบานเต็มต้น ชวนชมชนิดนี้คาดว่านำมาในประเทศไทยใกล้เคียงกันกับชนิดแรกข้างบน หากแต่ไม่เกิดความนิยมเท่า อาจจะเป็นเพราะจัดเป็นพันธุ์หนักมีดอกยาว จะบานพร้อมกันมากเป็นบางฤดูเท่านั้น
3) A. swazicum Stapf (Impala Lily หรือกลุ่มช็อคกิ้งพิ้ง) พบที่สวาซิแลนด์ โมแซมบิค ทรานซ์วาล ของอาฟริกาใต้ เป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่มแตกกิ่งแขนงมาก โขดไม่ขยายอยู่ใต้ดิน เก็บอาหารที่รากใบเรียวยาวไม่เป็นระเบียบ มีสีเขียวอ่อน มักพับเข้าหากันที่กึ่งกลางใบ มีขนละเอียดทั้งด้านบนและล่าง ดอกสีขาว ชมพูจนถึงม่วง เป็นสีทึบแน่นเสมอกันทั่วกลีบจนถึงกรวย ซึ่งไม่มีเส้นนำทางน้ำหวาน กลีบดอกกว้างเกยกัน ระยางค์ของอับเรณูสั้นมากซ่อนหลยอยู่ส่วนลึกในกรวย โดยมากดอกบานมากช่วงฤดูร้อน แต่บางสายพันธุ์ให้ดอกได้ตลอดทั้งปี เป็นไม้นำเข้ามาในประเทศไทยทั้งเมล็ดและกิ่งตอนมากมายหลายสายพันธุ์ช่วงสิบปีนี้ รู้จักกันในชื่อช็อคกิ้งพิ้ง รจนา ทับทิม เกล็ดไพริน เพ็ญนภา ขาวหิมะ และม่วงฮาวาย เป็นต้น
4) A. bomianum Schinz ได้แก่กลุ่มดอกผักบุ้ง ใบกระท้อน ใบฝรั่ง พบที่นามิเบียและแองโกล่า ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ ลำต้นตั้งตรง โขดมีขนาดเล็ก ใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้างใหญ่มาก ปลายใบกว้างมาก ดอกทั้งกลีบดอกและกรวยเป็นสีชมพูทึบแน่นเป็นเนื้อเสมอเดียวกัน ลักษณะกลีบค่อนข้างกลมกลีบเกยกัน ระยางค์ของอับเรณูสั้นมากซ่อนหลบอยู่ส่วนลึกของกรวย ในต่างประเทศมีดอกบานช่วงสั้นเพียงช่วง 2-3 อาทิตย์ในฤดูร้อน ได้นำเข้ามาในประเทศไทยช่วง 5-6 ปีที่แล้ว เป็นไม้ที่นำเมล็ดและกิ่งตอนเข้ามาจากแหล่งสะสมพันธุ์ไม้ของสหรัฐอเมริกา และที่ฮาไว รู้จักกันในชื่อ เจ้าเงาะ พระสังข์ ดอกสีโอวัลติน เชอร์รี่พิ้งค์ ม่วงอุษา ม่วงฮาวาย และหนึ่งฤทัย เป็นต้น
5) A. oleifolium Stapf ได้แก่กลุ่มใบเงิน พบที่บอทสวาน่า นามิเบีย ทรานซ์วาล เบคชัวนาแลนด์ และอาฟริกาเหนือและใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งมากใบแคบเขียอ่อน บางครั้งเป็นสีเขียวอมเทาเป็นเงินวาว ใบมักจะแบนแคบรูปใบพาย มีขนละเอียดปกคลุมมาก เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัดเจน การจัดวางใบไม่เป็นระเบียบ มีโขดใหญ่ มักมีสีคล้ายดินลูกรัง ชอบฝังอยู่ใต้ดิน บางต้นอาจหนักเกือบ 30 กิโลกรัม ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง กลีบดอกค่อนข้างแข็งหนากว่าชนิดอื่น ๆ สีชมพูกลีบแคบไม่เกยกัน กรวยสีเหลืองทอง เส้นนำทางน้ำหวานพาดยาวจากกรวยถึงบนกลีบดอกชัดเจน ระยางค์อับเรณูยาวประมาณปากกรวยดอก อายุฝักกว่าจะแก่ใช้เวลานานเกือบหนึ่งปี เมล็ดมีขนาดใหญ่มาก ไม่พบว่ามีการติดฝักในบ้านเรา สายพันธุ์จึงไม่มีการพัฒนาในประเทศไทยนำเมล็ดเข้ามาปลูกกันไม่มากนัก รู้จักกันในชื่อไม้นำเข้า บลูฮาวาย ยักษ์ใบเงิน
6) A. somalense var. somalense Balf. f. ได้แก่กลุ่มยักษ์ใบยี่โถ ยักษ์ใบเรียว พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า เป็นไม้ยืนต้นจัดว่าเป็นชวนชมยักษ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลำต้นตรงใหญ่ชะลูดทางสูงมากกว่าการแตกกิ่งทางด้านข้าง ดังพวกพันธุ์ obesum และโขดโตมากเป็นกรวยสูงรับกับลำต้น ส่วนรากไม่ขยายรับกับความใหญ่สมกับลำต้น ที่พบในท้องถิ่นเดิมของอาฟริการายงานว่าสูงถึงสามเท่าช่วงตัวคน มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร ในบ้านเราโตเร็วมากปลูกได้ไม่กี่ปีก็อาจสูงกว่า 2 เมตร ใบเรียวแคบไม่มีขน สีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด รูปร่างคล้ายใบยี่โถมาก จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก เป็นฤดูชอบออกดอกตามลำต้นและกิ่งหลัก ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง สีชมพูริมขอบกลีบแดง และซีดลง บริเวณส่วนกลางดอก กลีบดอกไม่เกยกัน กรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวาน 15-25 เส้น ยาวเลยเข้ามาที่กลีบดอกเล็กน้อย ระยางค์อับเรณูยาวเลยปากกรวยดอก ติดฝักได้ดีพอสมควร เมล็ดมีขนาดใหญ่ เป็นไม้ที่นำเข้าในประเทศไทยมากกว่า 20 ปี จากแหล่งเพาะเลี้ยงเคคทัสในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันจึงมีต้นชนิดนี้ที่นำเข้ารุ่นแรก ๆ สูงกว่า 3 เมตร สวยงามมาก มีการพัฒนาทั้งต้นและดอกไปมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเน้นให้คงสภาพลักษณะสายพันธุ์ยักษ์ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด
7) A. somalense var. crispum ได้แก่กลุ่มยักษ์แคระ ดอกสีโกโก้ พบที่โซมาเลีย เคนย่า และแทนซาเนีย เป็นชนิดย่อยของกลุ่มยักษ์ใบยี่โถ แตกต่างกันมาก เพราะเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่มีโขดกลมอยู่ใต้ดิน ใบเรียวแคบยาวแหลม ขอบใบหยิกเป็นคลื่น ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้มอมน้ำตาลหรือเทา มักเห็นเส้นใบชัดเจน ชอบออกดอกดกมากเป็นครั้งคราว แต่ช่วงการบานนาน ดอกมีขนาดเล็กบานทน มีสีชมพูจนถึงแดง บางสายพันธุ์มีสีแดงอมน้ำตาล สีซีดเข้าสู่กึ่งกลางดอก กลีบดอกแคบเป็นแถบค่อนข้างยาว มักบิดเป็นเกลียว แต่บางชนิดปลายดอกแหลมคล้ายรูปดาว ส่วนมากจะมีเส้นนำทางน้ำหวาน 15 เส้นจากในกรวย ซึ่งอาจทอดยาวแตกแขนงยาวเลยออกมากระจายไปทั่วกลีบ ทำให้เห็นความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างชัดเจน ระยางค์อับเรณูหดสั้นอยู่ภายในกรวย สายพันธุ์นี้นำเข้ามาในประเทศไทยจากแหล่งเพาะพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 5 ปีหลังนี้ ปลูกเลี้ยงกันในชื่อยักษ์แคระอเมริกา เป็นที่นิยมมากในการเสียบเข้ากับตอที่แข็งแรงขนาดใหญ่ จะให้ดอกดกมาก ใช้เป็นไม้ตกแต่งยอดเยี่ยม
ชวนชมที่พบตามธรรมชาติแหล่งใหญ่แห่งที่สองนั้นอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับมีสองชนิดคือ







1) Adenium arabicum Balf. f. ได้แก่ยักษ์อาหรับ ยักษ์ซาอุฯ ยักษ์อริโซน่า พบที่แถบตอนใต้และตะวันตกของริมคาบสมุทรอาหรับ ลำต้นสูงใหญ่ใต้ใบมีขนละเอียดนุ่ม ออกดอกดกตามลำต้นกิ่งหลักและกิ่งแขนง ดอกสีชมพูสดใส ส่วนใหญ่จะซีดลงจนถึงขาวในส่วนลึกของกรวย ซึ่งมีขนละเอียดยาวมากกว่าชนิดอื่น ๆ ฝักมักมีสีแดงเข้ม ขนาดฝักและเมล็ดอ้วนใหญ่กว่าพันธุ์ obesum มาก ชวนชมยักษ์ในชนิดนี้แบ่งลักษณะลำต้นออกเป็นสองฟอร์มคือ ฟอร์มซาอุ มีลำต้นเป็นแบบไม้ยืนต้น ลำชี้ ขึ้นตรง สูงได้ถึง 4 เมตร ถ้าพบในแถบภูเขาสูงจะเตี้ยลงแต่ขนาดโขดจะใหญ่ขึ้น ใบไม่กว้าง ดอกสีชมพูมีขนาดเล็ก (4 เซนติเมตร) ส่วนอีกฟอร์มมีลักษณะลำต้นเตี้ย แต่มีฐานโขดใหญ่กว้างถึงหนึ่งเมตร ชอบแตกกิ่งแขนง มีใบกว้างใหญ่มาก ดอกมีขนาดกลางประมาณ 8.5 เซนติเมตร ในกรวยดอกมีเส้นนำทางน้ำหวาน 5 เส้น เรียกฟอร์มเยเมน สายพันธุ์ที่รู้จักนิยมปลูกกันมีดอกขนาดใหญ่พิเศษคือ "สิงคโปร์" บางสายพันธุ์มีผิวของลำต้นออกทางขาวนวล แดงอมน้ำตาล เขียวอ่อน หรือเขียวอมเหลืองหลากหลายสี ในสายพันธุ์นี้ส่วนใหญ่ได้ทยอยนำเข้ามาทั้งต้น และเมล็ดจากผู้ที่เคยทำงานเขตตะวันออกกลางเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน จึงได้มาจากหลายแหล่ง หลายรูปแบบโครงสร้าง เจริญเติบโตได้ดี อัตราการเติบโตเร็วกว่าพวกชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะมีโขดใหญ่กว่ามาก เป็นไม้ที่นิยมกันอีกชนิดหนึ่ง ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งใหญ่ที่ผู้นำเข้าได้แก่ ยักษ์อาหรับสายคุณหญิงพหลฯ สายสิงห์บุรี สายลพบุรี สายอยุธยา สายองครักษ์ และสายเมืองคง (โคราช) ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปจนเป็นที่น่าสังเกตได้จากสี รูปร่างใบ และลักษณะโขด แต่โดยมากที่พบมักจะเป็นประเภทมีฐานโขดกว้าง ชอบแตกหน่อหลายลำออกจากฐานโขด เป็นทรงกรวยใหญ่ชี้ตรงขึ้นฟ้า ออกดอกตกตามลำต้นและยอด จำนวนต้นยักษ์อาหรับยังมีไม่แพร่หลายมากนัก สามารถติดเมล็ดได้บ้างในบ้านเราเอง จึงเกิดพัฒนาสายพันธุ์ไปได้ สีดอกเกิดการกลายพันธุ์จากชมพูไปถึงสีขาวและแดงเป็นเอกลักษณ์ต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก
 2) A. socotranum Vierh. ได้แก่ ยักษ์ซาอุฯ เพชรบ้านนา ยักษ์บางคล้า พบที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียและพบที่ตอนใต้อาหรับ ถือว่าเป็นชวนชมพันธุ์ยักษ์ที่แท้จริง ลำต้นเมื่อมีอายุมากจะมีผิวเปลือกย่นคล้ายหนังช้าง โครงสร้างเป็นกรวยตรงใหญ่สูงหลายเมตร มีรายงานว่าพบสูงถึง 6 เมตร โขดกว้างถึงเกือบ 2 เมตรครึ่ง ส่วนยอดจะแตกกิ่งมีข้อสั้นเป็นแขนงมากมาย คล้ายต้นไม้ใหญ่ที่มีรากชี้ฟ้า รูปทรงใกล้เคียงกับต้นไม้ยักษ์ที่
ชื่อบาวบับ ในระยะเป็นต้นขนาดเล็กที่เกิดจากการเพาะเมล็ด จะเห็นความแตกต่างจากชนิดอื่นที่ไม่แตกกิ่งแขนง หน่อ หรือลำต้นออกจากโคนหรือโขดที่มักจะยกตัวลอยอยู่เหนือพื้นดิน เก็บอาหารไว้ที่โขดและลำต้นที่เป็นลำแท่งตรงใหญ่ และที่โคนซึ่งมีรากใหญ่ลอยตัวพ้นผิวดินบิดงอซับซ้อนมีความสวยงาม ลำต้นแม้จะมีขนาดเล็กก็ดูคล้ายบอนไซ จัดเป็นต้นชวนชมที่เด่นที่สุด ออกดอกดกตั้งแต่อายุ 2 ปี เมื่อทิ้งใบหมดต้นก็จะออกดอกเป็นสีชมพู มีขนาดเล็ก และมักบานพรูพร้อมกันทั้งต้น มีตาดอกที่กิ่งแขนงและปลายยอด ให้ช่วงฤดูการบานของดอกทนนาน บางสายพันธุ์ให้ดอก 2 ครั้งต่อปี ลักษณะใบค่อนข้างเรียวยาวกว้างที่ใกล้ส่วนปลาย ใบค่อนข้างหนาเป็นมันสีเขียวเข้ม และเห็นเส้นกลางใบสีขาวชัดเจน
ชวนชมชนิดนี้เป็นพันธุ์หายากพบว่ามีที่ปลูกไว้น้อยมากในสถาบันแหล่งสะสมสายพันธุ์ของต่างประเทศ นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยเราที่มีผู้ซึ่งไปทำงานซาอุดิอารเบียมีความรู้เรื่องต้นไม้แปลกได้นำเข้ามาเป็น กิ่งชำปลูกไว้ที่นครนายกเมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว โดยในตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นชนิดใด จึงเกิดเป็นชื่อสายพันธุ์ยักษ์ซาอุฯ เพชรบ้านนา และโดยบังเอิญที่เป็นสายพันธุ์ชนิดนี้ ซึ่งค่อนข้างจะหาได้ยากในเขตอาหรับตอนใต้ แต่จะพบมากที่สุดโดยเฉพาะที่บนเกาะโซโคทร้าของเยเมนเท่านั้น ทั้งลักษณะต้นนำเข้ามานี้โตมาจากกิ่งปักชำ จึงดูแตกต่างมากจากต้นที่เพาะจากเมล็ด จนกระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วได้ติดตามลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของสายพันธุ์นี้ที่ยิ่งแสดงความชัดเจนมากขึ้นในรุ่นลูกที่ได้จากฝักของต้นนี้ ซึ่งให้จำนวนเมล็ดน้อยมาก แต่มีความนิ่งของสายพันธุ์ และแสดงโครงสร้างลำต้นดอกแตกต่างจากชวนชมชนิดอื่น ๆ ประกอบกับมีการนำเข้าพันธุ์แท้บางต้นจากเยเมน จึงได้แน่ใจกันว่าเป็นชนิด socotranum และหลังจากนั้นก็พบว่ามีการนำเมล็ดเข้ามาจากซาอุฯ อีกชุดหนึ่งเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ซึ่งแต่เดิมคาดว่าเป็นเมล็ดยักษ์อาหรับธรรมดาเท่านั้น แต่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ จึงได้เพาะเจริญเติบโตอยู่ที่บางคล้า ฉะเชิงเทรา ต่อเมื่อต้นชุดนี้มีอายุหลายปี มีขนาดใหญ่ขึ้นจึงแสดงลักษณะชนิดพันธุ์ชัดเจน และในขณะนี้สายพันธุ์กลุ่มนี้ก็ได้กระจายอยู่ทั่วไปในกลุ่มนักเลี้ยงชวนชมแล้ว





เนื่องจากชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก แต่ถ้าได้ติดเป็นฝักสมบูรณ์แล้วมักจะไม่กลายพันธุ์จึงเป็นส่วนดี จำนวนต้นกล้าจึงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด และอาจจะกล่าวว่าชวนชมที่หายากชนิดนี้ในประเทศไทยเรา มีการเพาะปลูกมากที่สุดในโลกก็อาจเป็นได้ ชาวต่างประเทศผู้สะสมพันธุ์มักจะหาทางกว้านซื้อต้นกล้า ลักษณะที่ดีกลับไปให้ได้มากที่สุด ราคาทั้งต้นใหญ่ เล็ก ยังจัดว่าอยู่ในระดับสูงมาก
ชวนชมที่พบในประเทศไทยปัจจุบันจัดได้ว่ามีการรวบรวมไว้ครบทุกชนิด และมีความสวยงามหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพราะบ้านเรามีแหล่งน้ำ ดิน อากาศพอเหมาะแก่การขยายพันธุ์เจริญเติบโตประกอบกับความรู้ความสามารถของเกษตรกรเรียนรู้ได้เร็ว รู้จักดัดแปลงปรับปรุงอยู่เสมอ ทำให้บ้านเรามีต้นและดอกชวนชมที่ถือว่าอยู่ระดับแนวหน้า มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาศึกษาและทำธุรกิจมากมาย
ความหลากหลายของชวนชมไม่ได้จบลงที่ชนิดต่าง ๆ แต่เพราะชวนชมต่างชนิดกันนั้น หากได้ใช้ความพยายามช่วยผสมเกสรแล้วจะผสมข้ามชนิดได้ ทำให้เกิดพันธุ์ลูกผสมมากมาย ขยายพันธุ์ได้ง่าย สามารถนำมาเสียบเข้ากับตอที่มีอายุมากรูปทรงดีแล้ว ก็จะได้ไม้ดอกพุ่มตามความนิยมที่สวยงามมาก สำหรับลักษณะดอกจะคัดพันธุ์กันตามความนิยมในเรื่องของสีสด สีเข้ม สีแปลกจากสีพื้น ๆ ขนาด รูปทรงดอก ช่วงฤดูการบานนาน บานทน และความดก หากจะจำแนกสีในกลุ่มพื้นเมืองของลูกผสมฮอลแลนด์แล้ว จะมีดังนี้
กลุ่มสีแดง ได้แก่ แดงสะท้อนแสง แดงกรรณิการ์ แดงไต้หวัน ดวงตะวัน อำนวยโชค มณีนิล เพชรมณี และแดงลูกัส เป็นต้น สีแดงอมแสด ได้แก่ ส้มลายไทย แดงรุ่งโรจน์ แสดปัญจรัตน์ ฯลฯ สีแดงค่อนทางชมพู ได้แก่ มุกมณี สาวสวนแตง รัตนมงคล ศรีโสธร นิ่มนวล ฯลฯ ที่มีสีแดงเข้มผิวคล้ายกำมะหยี่ ได้แก่ แสงรัศมี และแดงอังเปา ที่เป็นไม้ล่าสุด สำหรับแดงที่มีกลีบดอกและใบหนาขนาดใหญ่พิเศษคือ แดงนับอนันท์


กลุ่มสีชมพู ได้แก่ ช่อทิพย์ ช่อผกา พวงผกา พวงชมพู เพชรชมพู ดาวชมพู ชมพูแวร์ซาย ชมพูเพชรรัตน์ ฟ้าประทาน แป๊ะยิ้ม บัวแก้ว บัวขวัญ หนึ่งเดียว ชมพูรจิตแก้ว ระฆังแก้ว และกัญจมาภรณ์ ฯลฯ ในกลุ่มนี้บางสายพันธุ์ให้สีเหลื่อมล้ำหลายสีหรือพวกสีแฟนซี จากขาวสำหรับดอกบานวันแรก วันต่อมาเป็นชมพูอ่อน เมื่อบานนานหลายวันจะเป็นชมพูเข้ม บ้างก็เปลี่ยนสีในดอกเดียวกัน หรือในช่อเดียวกันจึงมีความสวยแตกต่างจากสีพื้นเรียบธรรมดา สีดอกประเภทนี้ได้แก่ เพชรสายรุ้ง สุชาวรี ลีลาวลี พุดตาลสามสี ชมพูรจิตแก้ว แววมยุรา สามกษัตริย์ และล่าสุดคือ ชมพูสำราญ บางสายพันธุ์ให้สีชมพูที่มีโทนม่วงเข้ามาได้แก่ ขาวขอบม่วง ม่วงมาดาม หรือม่วงแคทรียา ม่วงจำปาสัก ม่วงเม็ดมะปราง ม่วงดอกมะเขือ ม่วงกรรณิการ์ ม่วงตวงทอง ม่วงมะเหมี่ยว เป็นต้น




กลุ่มสีขาว ได้แก่ ขาวประ ขาวมะลิ ขาวสไปร์ ขาวอรุณี ขาวคีรีบูร ขาวมงกุฏเพชร ขาวประภาพรรณ ขาววิรัตน์ ขาวมรกต เพชรน้ำเอก ขาวลิลี่ไวท์ ขาวศรีอโยธยา ขาวบางใหญ่ ขาวมีทรัพย์ และขาวมรดกโลก ล้วนแต่เป็นลูกไม้ที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งได้จัดว่าเป็นกลุ่มขาวที่ดีที่สุดในโลก




หากจะจำแนกในความแปลกของดอก เช่น กลุ่มดอกหอม จะมีหลายสายพันธุ์ที่หอมมากเป็นพิเศษหอมรุนแรง ตั้งแต่สายจนบ่ายกลิ่นคล้ายกุหลาบปนน้ำหอมสุภาพบุรุษ ได้แก่ แดงหอม แก้วดอกหอม ขาวหอม ขาวมะลิคริส เตียนดิออร์ และหอมเพชรรัตน์ เป็นต้น หรือในบางชนิด มีสีด่างลายขาวและแดงเป็นไม้นำเข้าจากไต้หวันชื่อดอกลายสายน้ำตก บางชนิดมีลายด่างเป็นขอบชั้นได้แก่ เพชรสายรุ้ง เพชรเมืองกาญจน์ ดอกบางชนิดมีกลีบซ้อน เป็นสองชั้นได้แก่ เพชรบ้านสร้าง หรือบางชนิดก็อาจมีจำนวนกลีบมากน้อยแตกต่างกันจาก 3 ถึง 8 กลีบก็มี
นอกจากกลุ่มสายพันธุ์ฮอลแลนด์ที่นิยมมากคือ พวกพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามชนิดระหว่างพันธุ์อาหรับกับฮอลแลนด์ หรือกับกลุ่มสวาซิคัม มีที่เป็นไม้นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาได้แก่ กลุ่มแดงมงคล คริมสันสตาร์ (แดงปักษ์ใต้) คาร์ริบโซ แดงหาดใหญ่ แดงเชียงใหม่ แดงแม่โจ้ แอสช่า และกมลทิพย์ เป็นต้น แต่เมื่อนำไปปลูกนานเข้าเกิดติดฝักโดยธรรมชาติในประเทศไทยได้รุ่นลูกของกลุ่มนี้ที่มีลักษณะที่ดีพันธุ์ล่าสุดได้แก่ พรทิพย์ ประกายดาว และแดงสิริ เป็นต้น








ความหลากหลายของใบชวนชมมีมากสี จากเขียวใสคล้ายสีตองอ่อน เขียวเข้ม เขียวอมเทา เงิน เขียวอมแดง (ได้แก่นิลมหากาฬ แดงเสนาะ) ขอบแดง สีขาวนวล ใบลายด่างขาว (variegata) ก็เป็นที่นิยมเล่นเป็นไม้ใบได้ ซึ่งมีข้อได้เปรียบพืชอื่น ๆ ที่ยังสวยที่ดอกและโขดเป็นบอนไซได้ สายพันธุ์ประเภทด่างที่เกิดในประเทศไทยจากสายพันธุ์ฮอลแลนด์ได้แก่ ด่างชาตรี ด่างวิฑูรณ์ ด่างปรีชา ด่างจิ๋ว ด่างรจิตแก้ว ด่างนับอนันท์ และด่างแก้วสารพัดนึก นอกจากนี้ได้เกิดการด่างกลายในชนิดสวาซิคัม ได้แก่ ช็อคกิ้งพิ้งด่าง และด่างในชนิดยักษ์ใบยี่โถอีกด้วย สำหรับลำต้นชวนชมนอกจากมีลายด่างลายแล้ว บางครั้งลูกกล้าที่เพาะใหม่ก็มีการกลายพันธุ์มีลำต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดใสก็มี หรือบางยอดเปลี่ยนเป็นแผงหรือกำแพงเกิดเป็นตาดอกมาก จึงเกิดเป็นช่อดอกขนาดใหญ่ มีจำนวนหลายสิบดอก เมื่อเพาะกล้าชวนชมจำนวนมากหลายพันต้น มักจะพบลูกหลงกลายพันธุ์แปลกออกมาเป็นพันธุ์แคระ ลำต้นย่อขนาดลงมากใบเล็กกว่าหนึ่งตารางเซนติเมตร หรือได้ลักษณะเป็นใบบิดแข็งหนามัน คล้ายพลาสติกให้ดอกที่สวยด้วยจึงนิยมนำมาปลูกเล่นเป็นบอนไซที่สวยงาม
ชวนชมจึงเป็นไม้ที่น่าหลงไหล มีความงามต่างรูปแบบ สวยทุกส่วนสัดทั้งดอก ใบ ต้น โขดและราก ทั้งการเลี้ยงดูก็แสนจะง่าย ตายก็ยาก จะเอามาตกแต่งเป็นไม้พุ่ม ไม้ดัด ไม้ใหญ่ จัดเข้าสวนบ้านไทย ก็ทันสมัยทุกเวลา


















ขอขอบคุณ
รศ.ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์
 ผู้เอื้อเฟื้อบทความ
http://www.ku.ac.th/e-magazine/march46/agri/flower.html
             


สรำรอกดกกด
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Adenium 
            ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
            ชื่อสามัญ:  Desert rose, Mock Azalea, Pinkbignonia, Impala lily
            ชื่อพื้นเมือง:  ลั่นทมแดง ลั่นทมยะวา
อ้างอิงโดย : รศ.ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์